มูลนิธิของเรา

มูลนิธิสายธารแห่งความหวัง

ประวัติความเป็นมา

โครงการสายธารแห่งความหวัง " Wishing Well Project " ได้เริ่มขึ้นอย่างไม่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2546 โดย รศ.นพ.อิศรางค์ นุชประยูร ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคเลือดและมะเร็งเด็ก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งพบว่าเด็กที่เป็นมะเร็งที่รักษายากส่วนใหญ่ต้องทนทุกข์ทรมานจากการต่อสู้กับโรคมะเร็งจนหมดเวลา โดยไม่มีโอกาสแม้แต่การกินอาหารที่ตนเองชอบ หรือใช้ชีวิตเที่ยวเล่นเช่นเดียวกับเด็กคนอื่น เด็กๆ มักต้องใช้เวลาส่วนใหญ่อยู่ในโรงพยาบาล แต่เด็กจำนวนหนึ่งมีความใฝ่ฝันที่เด่นชัด เช่น อยากไปดูหมีแพนด้า นพ.อิศรางค์ จึงได้บอกเล่าเรื่องราวแก่อาสาสมัครที่ช่วยงานอยู่ในขณะนั้น และสามารถเติมเต็มความฝันครั้งสำคัญของผู้ป่วยเด็กที่เป็นมะเร็งที่รักษายากให้เป็นจริงได้ จากนั้นจึงได้ริเริ่มการสานฝันให้แก่เด็กผู้ป่วยรายอื่นๆ ที่เป็นมะเร็งที่รักษายาก เช่น พาเด็กไปเที่ยวทะเล เป็นต้น

ด้วยการสนับสนุนของ คุณวรกุล บุณยัษฐิติ ดร.สรวุฒิ ปัทมินทร์ คุณอารีย์ ศรีวงศ์มณีรัตน์ และน้ำใจจากอาสาสมัคร นพ.อิศรางค์ จึงได้ก่อตั้ง "มูลนิธิสายธารแห่งความหวัง (Wishing well foundation)" โดยได้เชิญ ศ.กิตติคุณ นพ.ชัยเวช นุชประยูร เป็นประธานกรรมการมูลนิธิ และได้จดทะเบียนอย่างเป็นทางการในวันที่ 14 พฤศจิกายน 2548 มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยสานฝันครั้งสำคัญของผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งที่รักษายากให้เป็นจริง สนับสนุนให้เด็กและครอบครัวใช้ช่วงเวลาที่เหลืออยู่อย่างมีคุณภาพและมีความสุขมากที่สุด โดยเน้นการดูแลในแนวชีวันตารักษ์ (Palliative care) ซึ่งมูลนิธิสายธารแห่งความหวังจะสนับสนุนทุกสถาบันที่ดูแลเด็กป่วยด้วยโรคมะเร็ง

วิสัยทัศน์

มูลนิธิสายธารแห่งความหวังเป็น องค์กรระดับชาติด้านการสานฝัน ดูแลคุณภาพชีวิตเด็กโรคมะเร็ง และสนับสนุนเครือข่ายกุมารชีวันตารักษ์

พันธกิจ

วัตถุประสงค์การดำเนินงาน

ผู้บริหารองค์กร

ศ.กิตติคุณ นพ.ชัยเวช นุชประยูร ประธานกรรมการมูลนิธิ
นาย วรกุล บุณยัษฐิติ รองประธานกรรมการ
ดร. สรวุฒิ ปัทมินทร์ กรรมการและเหรัญญิก
นางสาวอารีย์ ศรีวงศ์มณีรัตน์ กรรมการ
พญ. พัชรินทร์ สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง      กรรมการ
ศ.กิตติคุณ ดร. อัจฉรา จันทร์ฉาย กรรมการ
รศ. นพ. อิศรางค์ นุชประยูร กรรมการและเลขานุการ

รูปแบบการบริหารจัดการ

ปัจจุบันมูลนิธิสายธารแห่งความหวัง มีคณะกรรมการ 7 คน ทำหน้าที่บริหาร และจัดการเงินทุนที่ได้จากการบริจาค ส่วนการดำเนินงานหลักจะเน้นการทำงานผ่านระบบเครือข่ายอาสาสมัครที่มีจิตอาสา โดยรูปแบบการทำงานจะดูจากความสามารถเดิม และความสมัครใจของอาสาสมัครเป็นหลัก   ซึ่งสามารถแบ่งอาสาสมัครออกเป็น 3 ส่วน คือ

ลักษณะการทำงาน

การดำเนินงาน

มูลนิธิสายธารแห่งความหวังมีขั้นตอนในการดำเนินงานดังนี้

ปัจจุบันมูลนิธิสายธารแห่งความหวังได้ดำเนินงานการสร้างเครือข่ายการดูแลผู้ป่วยเด็กที่เป็นโรคมะเร็งที่รักษายากในโรงพยาบาลต่างๆ ด้วยการบริจาคเงินเพื่อเป็นกองทุนของโรงพยาบาลนั้นๆ ในการดำเนินการพัฒนางานด้าน Palliative care และสนับสนุนกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตผู้ป่วยเด็กในโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลศรีนครินทร์ ขอนแก่น โรงพยาบาลศูนย์ขอนแก่น โรงพยาบาลสระบุรี โรงพยาบาลเขาค้อ เพชรบูรณ์ โรงพยาบาลวชิระ ภูเก็ต โรงพยาบาลลำปาง โรงพยาบาลนครปฐม โรงพยาบาลนพรัตน์ราชธานี เป็นต้น พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการจัดอบรมแพทย์ พยาบาล และอาสาสมัคร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดูแลผู้ป่วย

ณ 2 ก.ย. 53

22 เม.ย. 2561, 06:49
6797